Skip to content

IoT

IoT Slope Monitoring System

บริษัท กรีนกราวด์โซลูชั่นส์ จำกัด ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พัฒนาและติดตั้งระบบตัววัดการเคลื่อนตัวของลาดดิน แรงดันน้ำใต้ดิน ความชื้นในดิน ฯลฯ ด้วยระบบ IoT Slope Monitoring System สามารถดูผลแบบ Real time
และแจ้งเตือนภัยทาง line application

อุปกรณ์ตรวจวัด

เกจวัดน้ำฝนแบบคานกระดก (Tipping bucket rain gauge)

เกจวัดน้ำฝนแบบคานกระดก (Tipping bucket rain gauge) ซึ่งอาศัยคานกระดกซึ่งจะมีการกระดกหนึ่งครั้งเมื่อน้ำฝนตกลงในกระบอกวัดเท่ากับ 0.2 มม. และส่งสัญญาณการนับครั้งไปยังอุปกรณ์บันทึกข้อมูล จึงสามารถบันทึกข้อมูลปริมาณน้ำฝนได้อย่างต่อเนื่อง สามารถอ่านความเข้มน้ำฝนได้ละเอียดถึง มม.ต่อ 5 นาที หรือ 15 นาที แล้วแต่ความต้องการ และสามารถนำข้อมูลน้ำฝนไปใช้คำนวณความเสี่ยงภัยดินสไลด์ได้โดยหลักการกราฟน้ำฝนวิกฤติ (Critical rainfall envelope) ได้ทันที

ความชื้นของดิน (Soil Moisture Sensor)

เซนเซอร์วัดความชื้นโดยทั่วไปจะวัดค่าเปอร์เซ็นต์ของปริมาตรของน้ำในดินต่อปริมาตรดิน (-, cm3/cm3) เรียกว่า ความชื้นโดยปริมาตร (Volumetric water content) โดยอาศัยหลักการที่คุณสมบัติด้าน Dielectric constant ของดินจะเปลี่ยนไปเมื่อความชื้นเปลี่ยนไป หรือความสามารถในการเก็บประจุไฟฟ้าของดินจะเปลี่ยนไปตามความชื้น เป็นหลักการของอุปกรณ์ประเภท Time Domain Reflectometry (TDR) ค่า Dielectric Constant เป็นค่าอัตราส่วนของค่าความจุทางไฟฟ้าของวัสดุใดๆกับค่าความจุของตัวเก็บประจุที่เป็นอากาศ จึงมีค่าความสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณความชื้นในดินโดยปริมาตร

เครื่องมือวัดแรงดันน้ำ (Piezometer)

ค่าแรงดันน้ำในช่องว่างดิน (Pore-water pressure) เป็นพารามิเตอร์ที่สำคัญมากที่สุดค่าหนึ่งในการตรวจวัดทางวิศวกรรมปฐพีและวิศวกรรมเชิงลาด เนื่องจากมีความสัมพันธ์โดยตรงกับ หน่วยแรงประสิทธิผล (Effective stress) ค่ากำลังเฉือนของดินและเสถียรภาพของลาด รวมไปถึงการอัดตัวคายน้ำของดิน อุปกรณ์ซึ่งใช้วัดค่าแรงดันน้ำในช่องว่างดินเรียกว่าพิโซมิเตอร์ แบ่งได้เป็นสองลักษณะ คือ แบบระบบเปิด (Open system) เช่น (Standpipe หรือ Casagrande Piezometer) และแบบระบบปิด (Close system) เช่น Electric piezometer, Vibrating wire piezometer

เครื่องมือวัดแรงดูดน้ำหรือเทนซิโอมิเตอร์ (Tensiometer)

ในการตรวจวัดการเคลื่อนตัวของเชิงลาด สามารถวัดได้ทั้งการเคลื่อนตัวที่ผิวดิน (Tiltmeter) และมวลดินในระดับลึก (Inclinometer) ซึ่งทั้งสองรูปแบบจะอาศัยเซนเซอร์สำหรับวัดการเอียงตัว โดย ทิลท์มิเตอร์ (Tiltmeter) จะติดตั้งกับท่อเหล็กซึ่งตอกไว้ที่ผิวดินที่ความลึกไม่เกิน 1 เมตรสามารถวัดการเคลื่อนตัวของลาดที่ผิวดินระดับตื้น และอินคลิโนมิเตอร์ (Inclinometer) จะติดตั้งไว้ในท่อแนวดิ่งเพื่อวัดการเคลื่อนตัวด้านข้างของมวลดิน (Lateral Movement)

เครื่องมือวัดการเคลื่อนตัวของดิน (Inclinometer/Tiltmeter)

ในการตรวจวัดการเคลื่อนตัวของเชิงลาด สามารถวัดได้ทั้งการเคลื่อนตัวที่ผิวดิน (Tiltmeter) และมวลดินในระดับลึก (Inclinometer) ซึ่งทั้งสองรูปแบบจะอาศัยเซนเซอร์สำหรับวัดการเอียงตัว โดย ทิลท์มิเตอร์ (Tiltmeter) จะติดตั้งกับท่อเหล็กซึ่งตอกไว้ที่ผิวดินที่ความลึกไม่เกิน 1 เมตรสามารถวัดการเคลื่อนตัวของลาดที่ผิวดินระดับตื้น และอินคลิโนมิเตอร์ (Inclinometer) จะติดตั้งไว้ในท่อแนวดิ่งเพื่อวัดการเคลื่อนตัวด้านข้างของมวลดิน (Lateral Movement)

สถานีระบบ IoT Slope Monitoring System